วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ระเบียบโรงเรียน

ระเบียบโรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ว่าด้วยคะแนนความประพฤตินักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๓
           เพื่อให้การควบคุมดูแล แก้ไขพฤติกรรมนักเรียน มีหลักเกณฑ์ในการดำเนินงาน  อย่างเป็นขั้นตอนสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓  สามารถปฎิบัติเป็นแบบเดียวกันและมีประสิทธภาพและเพื่อใช้คะแนนความประพฤติเป็นเกณฑ์พิจารณาการดำเนินงาน และการลงโทษ หรือแก้ไขความประพฤตินักเรียนที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนใช้เป็นการสร้างเป็นกำลังใจแก่นักเรียนที่ประพฤติดี ประพฤติชอบ จึงวางระเบียบว่าด้วยคะแนนความประพฤตินักเรียน ดังต่อไปนี้                              
๑.       ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบโรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ว่าด้วยคะแนนความประพฤตินักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๓
๒.     ในระเบียบนี้
       คำว่า “นักเรียน”                          หมายถึง     ผู้ศึกษาเล่าเรียนปัจจุบันในโรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี                                                 
คำว่า “ครู”                                 หมายถึง    บุคลากรวิชาชีพปัจจุบันซึ่งทำหน้าที่หลัก  
                                ทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริม
                                                                    การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีต่างๆใน       
                                                                      โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำว่า “ครูที่ปรึกษา”                   หมายถึง      บุคลากรวิชาชีพปัจจุบันในโรงเรียน
                        โพธาวัฒนา เสนีที่ได้รับแต่งตั้งจาก
                                 ผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ดูและนักเรียน
                                         ในชั้นเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
                                        เช่น สำรวจการมาเรียน/การเยี่ยมบ้าน ฯลฯ
คำว่า “โรงเรียน”                          หมายถึง       โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
                       อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว
               ชื่อ นามสกุล : เด็กหญิงบุญญิตา บุญโต
                      ชื่อเล่น : แตงกวา
                       เกิดวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2540
                       ที่อยู่ 129/1 ม.7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม
                      จ.ราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70120
                     นิสัยส่วนตัว : ร่าเริงแจ่มใส ชอบอ่านมากกว่าคิด
                      ประเภทหนังสือที่ชอบอ่าน : การ์ตูน เช่น รีบอร์น
                      ประเภทสืบสวน และหนังสือนิยาย
                      เสนอ : อาจารย์พิทักษ์  คำแคว่น

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

บทท่ี 3 วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ยุคแรก



อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)


คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง


คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน


คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม


คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง


คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่


คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง


คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า


คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง










วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2 สารสนเทศ

1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)




ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม



2. ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน



3. ความหมายของข้อมูล

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว



4. ความหมายของสารสนเทศ

สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้



5. ลักษณะสารสนเทศที่ดี

เนื้อหา (Content)

• ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)

• ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)

• ความถูกต้อง (accuracy)

• ความเชื่อถือได้ (reliability)

• การตรวจสอบได้ (verifiability)

รูปแบบ (Format)

• ชัดเจน (clarity)

• ระดับรายละเอียด (level of detail)

• รูปแบบการนำเสนอ (presentation)

• สื่อการนำเสนอ (media)

• ความยืดหยุ่น (flexibility)

• ประหยัด (economy)

เวลา (Time)

• ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)

• การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)

• มีระยะเวลา (time period)

กระบวนการ (Process)

• ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)

• การมีส่วนร่วม (participation)

• การเชื่อมโยง (connectivity)



6. ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน



7. องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)

Sorry, your browser doesn't support Java(tm).

- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ

- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน

- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร

- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ

- คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ





8. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

ประสิทธิภาพ (Efficiency)



• ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย

• ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก

• ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที

• ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหากระบบสารสนเทศนั้นออกแบบ เพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น

ประสิทธิผล (Effectiveness)

• ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้

•ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่

•ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย

•ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

•คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Working Life)

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเเทนข้อมูล

   บุญญิตา
   บ = 10111010
   อุ = 11011000
   ญ = 10101101
   ญ = 10101101
   อิ = 11010100
   ต = 10110101
   อา = 11100010

   เด็กเก่งเเละดี
   เอ = 11100000
  ด = 10110100
  ็ = 11100111
  ก = 10100001
  เอ = 11100000
  ก =10100001
  ่ = 11101000
  ง = 10100111
  เเ = 11100001
  ล = 11000101
  ะ = 11010000
  ด = 10110100
  อี = 11010101